การสร้างศักยภาพครู
ความหมายของศักยภาพ
.... ความสามารถที่เรามีอยู่ในขณะนี้จึงยังไม่ใช่ศักยภาพของเรา เราจึงต้อง
"พัฒนาความสามารถ" หรือ "พัฒนาสมรรถนะ" เพื่อที่จะเข้าไปใกล้ศักยภาพของเรา
ไม่ใช่ "พัฒนาศักยภาพ" เพราะแม้แต่ในคนที่เก่งมาก ๆ
เราก็ยังไม่ทราบว่าเขาไปได้ถึงครึ่งศักยภาพของตัวเขาเองแล้วหรือยัง
เนื่องจากยังไม่มีใครสร้างเครื่องมือวัดศักยภาพ
(ความสามารถสูงสุดที่ยังไม่เกิดขึ้น) ของมนุษย์ได้
แค่วัดความสามารถที่เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้
ก็ยังไม่ทราบว่าผลที่วัดได้นั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่
เรื่องที่จะไปขยายหรือพัฒนาศักยภาพจึงยังไม่ต้องพูดถึง
อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vcafe/14209
ความหมายของสมรรถภาพ
อ้างอิงจาก http://www.tuifino.com/physical%20fitness/physical%20fit%201.htm
คุณภาพครูไทย
... ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ไปด้วย
ทั้งนี้ต้องพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
นอกจากนี้ ครูไทยในอนาคตยังต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่สอน
และต้องมีเทคนิควิธีการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์
รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก
ฝึกให้นักเรียนทำงานเป็นทีม เป็นนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
อ้างอิงจาก https://hooahz.wordpress.com/tag/
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
ครู เป็นระดับคุณภาพในการดำเนินงานการจัดทำแผนการสอนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูนำมาใช้ โดยมีระดับฝีมือที่กำหนดคุณภาพไว้กว้าง 3 ระดับ คือ
คุณภาพระดับต่ำ เป็นการปฏิบัติตามแบบตามตัวอย่างที่ผู้อื่นกำหนดไว้หรือปฏิบัติให้เห็นแล้วนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทอื่น
คุณภาพระดับกลาง เป็นการปฏิบัติที่ครูพัฒนาขึ้นเองสอดคล้องกับผู้เรียนท้องถิ่นศักยภาพและความถนัดของครู
คุณภาพระดับสูง เป็นการปฏิบัติที่มีความชำนาญแตกฉานจนสามารถเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ
เป็นแบบอย่างหรือเป็นที่ปรึกษาร่วมพัฒนาให้กับครูคนอื่นๆได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น