เกริ่นน้ำ

........สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่.... BLOGGER...ของดิฉัน...BLOGGERนี้ซึ่งเป็นสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนของความเป็นครู ในภาคเรียนที่1พ.ศ...2558 มีความรู้ของความเป็นครูมีการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบปกติกับการเรียนรู้บนโลกออนไลน์...หรื่อที่เรียวกว่า BLOGGER....มีความสะดวกสบายมีทั้งบทความที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู...มีอิสระในการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง....ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกลมาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ.....หวังว่าBLOGGERนี้จะมีประโยชน์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

ประวัติวันแม่แห่งชาติ

แต่เดิมนั้น วันที่ 12 สิงหาคม มิได้เป็น วันแม่แห่งชาติ อย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศรับรองเอาไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่เป็นส่วนงานของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง จึงได้มอบหมายให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พุทธศักราช 2493 เป็นต้นมา อีกทั้งการจัดงานก็เป็นได้ด้วยความสำเร็จ เนื่องด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างออกไปได้ จึงทำให้การจัดงานไม่เพียงแต่มีการจัดพิธีทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ การประกวดคำขวัญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเป็นการเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้มีมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

ต่อมา ในปีพุทธศักราช 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ซึ่งก็คือวันที่ 12 สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ โดยได้เริ่มประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2519 เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2520 มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า …

วิดีโอเกี่ยวกับครู

คำอธิบายรายวิชา
  • เรียนรู้จากครูต้นแบบที่มีคุณลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ให้สามารถดำรงตนให้เป็นผู้มีความรู้ในเนื้อหา ยึดมั่นผูกพันและศรัทธาในวิชาชีพ  ปฏิบัติตนให้อยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพครู สร้างปฏิสัมพันธ์และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อปรับปรุงการจักการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของความเป็นครู
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในวิชาชีพครูเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู พัฒนาการของวิชาชีพครู
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู และกฎหมายที่เกี่ยวกับครู
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงวิชา
1.เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
2.เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา
แผนการเรียนรู้              
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  ความหมายและความสำคัญของครู
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  วิชาชีพครู
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ประวัติและพัฒนาการฝึกหัดครู
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ลักษณะของครูที่ดี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของครู
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  การสร้างศรัทธาในวิชาชีพครู
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  การสร้างศักยภาพครู
หน่วยการเรียนรู้ที่ บุคคลแห่งการเรียนรู้สู่ผู้นำทางวิชาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ การส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู


รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
-วิธีสอน เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
-เนื้อหาบทเรียน  เนื้อหาวิชาความเป็นครู


     เราคงเคยได้ยินคำกล่าวว่า “ได้ดีเพราะมีครู” ถือเป็นคำพูดที่กลั่นมาจากประสบการณ์ของคนที่ประสบสำเร็จในชีวิตทั้งหลาย ที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เขามีวันนี้ได้เพราะครู” หากเราต้องการประสบผล     สำเร็จและยืนอยู่ในจุดที่สูงสุดของชีวิต เหมือนผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตทั้งหลาย เราต้องเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์  เอาใจใส่ ตั้งใจเรียนและปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนของท่านอยู่เสมอ และเราจะประสบผลสำเร็จในชีวิตเช่นเดียวกัน